Pages

Thursday, July 23, 2020

กรมประมง สืบสาน รักษา ต่อยอด สนองงานตามแนวพระราชดำริ สร้างอาชีพประมงยั่งยืน - สยามรัฐ

sisikbiri.blogspot.com

กรมประมง สืบสาน รักษา ต่อยอด งานโครงการพระราชดำริ สนองงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

กรมประมง เป็นหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ร่วมสนองงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ตลอดจน พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรในชนบท โดยเน้นการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการประมง การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีน และการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เพื่อสร้างอาชีพ ก่อเกิดรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกร

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมประมง ได้ร่วมสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกร โดยมุ่งเน้นการสร้างอาชีพด้านการประมงและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งปลูกจิตสำนึกให้มีการรักษาหวงแหนอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำธรรมชาติ ในหลายกิจกรรม ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 กรมประมงได้ดำเนินงานในโครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในพื้นที่ทั้งหมด 67 จังหวัด มีเป้าหมายการดำเนินงาน จำนวน 77 โครงการ ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลักคือ 1.กิจกรรมผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 302,863,000 ตัว 2.กิจกรรมถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการประมง ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสนับสนุนปัจจัยการผลิต พร้อมกับให้คำแนะนำด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกร และด้านการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 8,685 ราย 3.กิจกรรมประมงโรงเรียน จำนวน 765 แห่ง และ 4.กิจกรรมจุดเรียนรู้และสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 43 แห่ง

จากการที่ กรมประมงได้ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการประมงแก่เกษตรกร โดยเฉพาะในการดำเนินงานโครงการที่เกิดผลเป็นรูปธรรมได้แก่ โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และลดต้นทุนรายจ่ายในครัวเรือน โดยส่งเสริมในรูปแบบการเลี้ยงปลากินพืชในบ่อดิน จำนวน 200 ราย เกษตรกรให้ความสนใจและเลี้ยงปลาตะเพียนเป็นจำนวนมาก โดยเกษตรกรได้มีการรวมกลุ่ม เพื่อนำปลาตะเพียนมาแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นปลาส้มปลาตะเพียน ปลาตะเพียนแดดเดียว และจำหน่ายในหมู่บ้าน ตลาดประชารัฐ และบริเวณอำเภอใกล้เคียง ซึ่งผู้บริโภคให้การยอมรับในรสชาติปลาส้ม และปลาแดดเดียว ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายผลิตภัณฑ์แปรรูปอีกทางหนึ่ง เป็นการแก้ไขปัญหากลไกตลาดได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ กรมประมงยังได้สนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีพระราชดำริให้กรมประมงฟื้นฟูปลาไทยให้กลับมามีจำนวนมากขึ้นและอนุรักษ์ปลาหายากไว้ ซึ่งกรมประมงได้รับสนองพระราชดำริ มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงปลา และสัตว์น้ำจืดของไทยที่หายาก หรือมีโอกาสสูญพันธุ์แล้ว เพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทดแทนปริมาณสัตว์น้ำที่ถูกทำลาย ตลอดจนสามารถคืนความหลากหลายของชนิดปลา รักษาสภาพความสมดุลตามธรรมชาติของแหล่งน้ำ อันจะนำมาซึ่งการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนตลอดไป โดยในปีงบประมาณ 2563 โครงการฟื้นฟูทรัพยากรพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำจืดของไทย มีเป้าหมายผลิตสัตว์น้ำเพื่อปล่อยแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 45,255,000 ตัว ดำเนินการแล้ว จำนวน 28,155,100 ตัว โดยเป็นชนิดพันธุ์สัตว์น้ำของไทย เช่น ปลายี่สกไทย ปลาแก้มช้ำ ปลาตะเพียนทอง ปลาบ้า ปลาสร้อยขาว ปลาทรงเครื่อง ปลากระแห ปลากดเหลือง ปลาชะโอน ปลาหมอไทย ปลาจาด เป็นต้น

รวมไปถึงการฟื้นฟูและช่วยขยายพันธุ์กุ้งก้ามกรามให้คืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งกรมประมงได้ดำเนินการปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ท่าชัยยุทธ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นประจำทุกปีตลอดมา เป็นผลให้บริเวณนั้นมีกุ้งก้ามกรามชุกชุมสร้างรายได้ให้กับราษฎรเป็นอย่างมาก และสร้างโอกาสการดำรงชีพให้กับราษฎรริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และบริเวณใกล้เคียงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จนชาวบ้านต่างพร้อมใจกันเรียกกุ้งก้ามกรามเหล่านั้นว่า "กุ้งสมเด็จฯ"

นายมีศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในปี 2563 กรมประมง ยังได้ร่วมโครงการฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโควิด-19 ในรูปแบบ โคกหนองนาโมเดล เพื่อสนองพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ที่ต้องหยุดงานและเดินทางกลับภูมิลำเนาในจังหวัดต่างๆ ให้มีงานทำและมีรายได้จากการจ้างงานในพื้นที่ในระหว่างหยุดงาน โดยโครงการฯ ประกอบด้วยฟาร์มตัวอย่างจำนวน 30 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ รวม 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ราชบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี สกลนคร บุรีรัมย์ อุบลราชธานี บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม สงขลา พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

โดยมีการแบ่งการดำเนินงานโครงการเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ระยะเร่งด่วน เป็นการดำเนินงานในการปรับสถานที่ในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล และจัดทำโครงสร้างพื้นฐานภายในฟาร์มตัวอย่างฯ มีการจ้างแรงงานจากผู้เข้าร่วมโครงการรายใหม่เข้ามาดำเนินการ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 เดือน ระยะที่ 2 ระยะรักษาสภาพเพื่อถ่ายโอน เป็นการดูแลบำรุงรักษาการดำเนินงานของฟาร์มตัวอย่างฯและจัดกลุ่มผู้มีความสนใจในแต่ละด้านเข้ารับการฝึกงานและอบรมความรู้ด้านต่างๆ ให้สามารถดำเนินงานได้หรือนำไปประกอบอาชีพต่อไปได้ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 เดือน และระยะที่ 3 ระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจะมีการถ่ายโอนความพร้อมให้ฟาร์มตัวอย่างฯ รับผิดชอบดูแลดำเนินงานต่อ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 เดือน

กรมประมงได้ดำเนินการสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนให้คำแนะนำด้านวิชาการและการส่งเสริมการประมงที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้การสนับสนุนวิทยากรร่วมบรรยายและให้ความรู้ตามที่ฟาร์มตัวอย่างฯ ต้องการ โดยให้หน่วยปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาคประสานงานโดยตรงกับผู้จัดการฟาร์มตัวอย่างฯ แต่ละพื้นที่ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของฟาร์มและสอดคล้องกับความเป็นไปได้ในการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยมีความก้าวหน้าในการดำเนินการโครงการมาตามลำดับ มีการประชุมหารือเพื่อเตรียมการดำเนินงานครบทั้งหมด จำนวน 30 แห่ง มีการให้คำแนะนำและจัดสร้างแหล่งอาหารธรรมชาติให้สัตว์น้ำแล้ว จำนวน 23 แห่ง และได้ดำเนินการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ อาทิ พันธุ์ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทอง ปลายี่สกไทย ปลานวลจันทร์เทศ ปลาไน จำนวน 21 แห่ง และอบรมให้ความรู้ด้านอาชีพไปแล้ว จำนวน 17 แห่ง

“นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจนานับประการ เสด็จพระราชดำเนินไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อทอดพระเนตรความเป็นอยู่ และความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎร ทรงพระราชทานแนวความช่วยเหลือราษฎร ซึ่งประสบปัญหาแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาแหล่งน้ำ และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ทำให้ทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงความทุกข์ยากของราษฎรทุกหมู่เหล่า ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเฉพาะเรื่องการน้อมนำแนวทางตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และศาสตร์พระราชา มาใช้ในการดำเนินชีวิต คือการพึ่งตนเอง และมัธยัสถ์ ก่อให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียง อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”นายมีศักดิ์ กล่าว

Let's block ads! (Why?)


July 24, 2020 at 07:16AM
https://ift.tt/3ePojew

กรมประมง สืบสาน รักษา ต่อยอด สนองงานตามแนวพระราชดำริ สร้างอาชีพประมงยั่งยืน - สยามรัฐ
https://ift.tt/36HR5eA
Home To Blog

No comments:

Post a Comment