Pages

Tuesday, June 9, 2020

คอลัมน์โลกธุรกิจ - ทางออก SMEs ไทย ภายใต้วิกฤติโควิด-19 - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

sisikbiri.blogspot.com

nn เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มข้นของแต่ละประเทศ ทำให้ระบบอุปสงค์ อุปทาน ระบบโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนโดยรวมของโลกเกิดการชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ซึ่งมีสายป่านสั้นกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “ทางออก SMEs ไทย ภายใต้วิกฤติโควิด-19” ร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือ รวมทั้งข้อเสนอแนะในการปรับตัวของผู้ประกอบการหลังวิกฤติโควิด-19


นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ความต้องการสินค้าและบริการเกิดการชะลอตัว ดังนั้นการเพิ่มกำลังการผลิตจึงเป็นไปได้ยาก แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการควรหันมาให้ความสำคัญ คือการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อทำให้กระบวนการผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพดีขึ้น ในต้นทุนที่ต่ำลง ที่ผ่านมา บีโอไอ ได้ให้สิทธิประโยชน์หลายด้านแก่ผู้ประกอบการ จากสถิติย้อนหลัง 3 ปี แต่ละปี มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมที่มีขนาดการลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาทซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการ SMEs คิดเป็น 70% ของจำนวนโครงการทั้งหมดที่ยื่นขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอโดยบีโอไอได้มีการปรับปรุงมาตรการและเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อให้ SMEs เข้าถึงมาตรการของบีโอไอได้ง่ายขึ้นโดยคุณสมบัติของ SMEs ที่บีโอไอให้การส่งเสริมต้องมีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 51%ของทุนจดทะเบียน มีรายได้รวมต่อปีไม่เกิน 500 ล้านบาท ในช่วง 3 ปีแรก โดยมีเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท ก็สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับ SMEs ได้แล้วจากเกณฑ์ปกติทั่วไปต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 1 ล้านบาท(ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขข้างต้น สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับ SMEs โดยจะได้สิทธิประโยชน์พื้นฐาน คือการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดถึง 8 ปี(ตามประเภทกิจการ) การเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่า ของเงินลงทุน การได้รับยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร และการยกเว้นอากรวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก เป็นต้น

บีโอไอยังมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีการลงทุนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ (1) การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (2) การสนับสนุนกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร (3) ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิเทคโนโลยีที่พัฒนาในประเทศ (4) การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และ (5) การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ โดยสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น การเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 3 เท่า สำหรับเงินลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา และได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมหากมีการตั้งกิจการในพื้นที่ที่กำหนด เช่น หากตั้งกิจการใน 20 จังหวัด ที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 3 ปี จากสิทธิพื้นฐาน หรือหากตั้งกิจการในนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 1 ปี เป็นต้น

นอกจากนี้ บีโอไอยังมีมาตรการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่จะอาศัยวิกฤติโควิดครั้งนี้ เตรียมองค์กรให้พร้อมรับโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ในอนาคต โดยมาตรการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต มี 5 ด้าน ได้แก่1.การประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการนำระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีใหม่มาใช้3.การวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ 4.การยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่ระดับสากล เช่น มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) มาตรฐานการรับรองป่าไม้ตามแนวทางขององค์การพิทักษ์ป่าไม้ (FSC) มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000) หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (ISO 14061) หรือ SFM ฯลฯ 5.การนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในโครงการ สำหรับสิทธิประโยชน์ของมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตผู้ประกอบการจะได้รับยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนในการปรับปรุง ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในเดือนธันวาคม 2563

นอกจากมาตรการต่างๆ ของบีโอไอแล้ว สถาบันการเงินของรัฐ ทั้ง ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ก็มีมาตรการสนับสนุนสินเชื่อสำหรับ SMEs เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ในภาวะวิกฤตินี้ด้วย โดยSME D Bank มี 5 แนวทาง ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ คือ “ลด พัก ขยาย ผ่อน และเพิ่ม” โดย ลด คือการลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 1% ต่อปี สำหรับผู้ประกอบการใน 22 จังหวัดท่องเที่ยว พัก คือ การพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย นานสูงสุด 2 ปีขยาย คือการขยายเงื่อนไขการชำระหนี้ สูงสุด 5 ปี ผ่อน คือการพิจารณาผ่อนผันอัตราการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย และ เพิ่ม คือ เพิ่มวงเงินสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ โดยให้วงเงินสินเชื่อซอฟต์โลน อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี รวมวงเงินกว่า7 หมื่นล้านบาท ขณะที่ EXIM BANK มีมาตรการช่วยเหลือพิเศษ อาทิ มาตรการเสริมสภาพคล่องผู้ส่งออก มาตรการลดภาระในการชำระหนี้ มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มาตรการลดภาระผู้ส่งออกไทยสู้ภัยไวรัสโคโรนาสินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน เป็นต้น

ผู้ประกอบการ SME มีสัดส่วนมากกว่า 90% ของวิสาหกิจในประเทศ มีการจ้างงานกว่า 10 ล้านอัตรา คิดเป็นกว่า 80% ของการจ้างงานในประเทศ และอย่างที่ทราบกันดีว่า ผู้ประกอบการ SMEของไทย มีภูมิต้านทานต่อวิกฤติทางเศรษฐกิจได้ต่ำมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องทำให้ผู้ประกอบการ SME ได้เข้าถึงมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นได้อย่างแท้จริง

กระบองเพชร

Let's block ads! (Why?)


June 10, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/2APvJA5

คอลัมน์โลกธุรกิจ - ทางออก SMEs ไทย ภายใต้วิกฤติโควิด-19 - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://ift.tt/36HR5eA
Home To Blog

No comments:

Post a Comment